ข้อความวิ่ง

เว็บไซต์กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา อีกไม่ช้าคงสมบูรณ์

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาคือหน้าตาของประเทศ

การศึกษา คือหน้าตาของประเทศ
        ปรัชญา  หมายถึง  ความเชื่อเกี่ยวกับวิธีการคิดอย่างมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆที่มีอยู่ หรือเป็นความพยายามที่จะค้นหาความสอดคล้องของแนวความคิดและประสบการณ์ทั้งหมด

        
ปรัชญาการศึกษา ( Philosophy of Education ) การศึกษา หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ
และทัศนคติของคนรุ่นก่อนให้กับอนุชนรุ่นหลังของสังคม ทั้งนี้เพราะ อนุชนรุ่นหลังคงไม่อาจเติบโตไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ถ้าไม่ได้ดูดซับความเชื่อเกี่ยวกับโลกทัศน์ และทักษะในการดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของผู้ใหญ่ ก่อนที่การศึกษาจะกลายมาเป็นกระบวนการสำคัญที่ต้องกระทำด้วยความตั้งใจและเป็นทางการ และเป็นระบบ โดยมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่ง คือ พระหรือนักปราชญ์ หรือนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบนั้น คนในสมัยโบราณก็มีการให้การศึกษาแก่เด็กในสังคมของเขาเหมือนกัน แต่การให้การศึกษาของคนสมัยก่อนเป็นไปในลักษณะของการถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ในชีวิตประจำวันโดยอัตโนมัติ เช่น การสอนการดำรงชีพ โดยการสอนการจับปลาและการเพาะปลูก รวมทั้งการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางสังคม เช่น พิธีศพ การศึกษาในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่การศึกษาแบบเป็นทางการ ไม่ใช่การศึกษาที่เป็นระบบ และไม่ใช่กระบวนการที่จงใจกระทำขึ้นเพื่อการเรียนรู้ จึงไม่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องการศึกษา   ดังนั้น ปรัชญาการศึกษา คือ ปรัชญาในส่วนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหา เป้าหมายของการศึกษาของสังคม
โดยพยายามตอบคำถามที่ว่า เป้าหมายหรือผลที่พึงประสงค์ที่จะก่อให้เกิดกับผู้เรียนนั้นควรจะเป็นอะไร ?และเป้าหมายดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่ ? เมื่อตอบคำถามถึงเป้าหมายของการศึกษาเสียแล้ว ก็สามารถตอบคำถามต่อไปได้ว่า ความรู้ใด ทัศนคติใด ทักษะใด ควรได้รับการถ่ายทอดให้แก่เขาเหล่านั้น รวมทั้งมรรควิธีให้การศึกษาจะนำไปสู่เป้าหมายนั้นด้วย

        คำตอบของนักปรัชญาการศึกษาต่อปัญหาที่ว่า เป้าหมายของการศึกษาหรือผลที่พึงประสงค์ของการศึกษาหรือสิ่งใดนั้น ย่อมมีผลสืบเนื่องมาจากทัศนะความเชื่อของนักปรัชญาทางด้านอภิปรัชญาและญาณวิทยาอยู่มากที่เดียว ตัวอย่างเช่น นักปรัชญาอย่าง เพลโต มีความเชื่อทางอภิปรัชญาว่า วัตถุทั้งหลายเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบแม่แบบในโลกแห่งแบบ แม่แบบเป็นสิ่งที่จริงกว่า หรือแม่แบบคือสัจธรรม ดังนั้น เป้าหมายของการศึกษาควรมุ่งให้เรียนรู้สัจธรรม
มิใช่มีความรู้ในโลกแห่งประสบการณ์ซึ่งเป็นเพียงสิ่งเลียนแบบสัจธรรมเท่านั้น วิชาวิทยาศาสตร์จึงมิใช่วิชาที่สำคัญ ส่วนนักปรัชญาอย่าง  ฟรานซิส เบคอน, จอห์น ล็อค  มีความเชื่อว่า โลกแห่งปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็น เป็นจริงแล้ว การศึกษาจึงมีเพียงเป้าหมายที่จะเข้าใจโลกแห่งปรากฏการณ์นี้เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องหาความรู้ในเชิงนามธรรมที่ห่างไกลตัวออกไปอย่างทัศนะของเพลโต ดังนั้น วิชาเช่นวิทยาศาสตร์จึงเป็นวิชาที่สำคัญ ทำให้มนุษย์พบกับความสุขที่แท้จริง
แนวคิดของนักศึกษา

        จากการศึกษา  ทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญา ทั้งปรัชญาสากล  ปรัชญาการศึกษาตะวันตก
และปรัชญาการศึกษาไทย  ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า ปรัชญามีอิทธิพลต่อความเชื่อของบุคคลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะว่า  ปรัชญาการศึกษา  เป็นการประยุกต์ปรัชญาทั่วไปมาจัดการศึกษา เพื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  ความเชื่อที่เป็นรากเหง้าของสังคมของมนุษย์  จึงเป็นตัวกำหนดอนาคตทางความคิดของคนอย่างแยกกันไม่ออกปรัชญาการศึกษาไทย  ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  เป็นการผสานเอาแนวคิดตะวันตก กับสภาพสังคมวัฒนธรรมไทย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชนรุ่นใหม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง   ชนิดที่เรียกว่ากู่ก็ไม่ยอมกลับ

         นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลคณะปัจจุบัน ที่มี ที่มีนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฐ์ 
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนโยบายด้านการศึกษา เสริมสร้างความตระหนักในคุณค่าของ  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ความสมานฉันท์   สันติวิธี  และวิถีชีวิตประชาธิปไตย  จึงเป็น ปรัชญา ในการพัฒนาคนที่ใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของ สถาบันครอบครัว  ชุมชน  สถาบันทางศาสนา  และสถานศึกษา   นั่นคือ  การให้ประชาชนและเอกชน  มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษา   สร้างคน  และสร้างความรู้สู่สังคมคุณธรรม คุณภาพ สมรรถภาพ  และประสิทธิภาพ  นั่นเอง
ข้าพเจ้ามีความเชื่อเช่นนี้จริง ๆ

       สุดท้ายนี้  ขอนำเอานิยามของคำว่า
การศึกษา ที่นักการศึกษาและนักปราชญ์ได้ให้นิยามไว้ เพื่อเป็นข้อคิดในการวางแผนจัดการศึกษาต่อไป  ดังนี้
การศึกษา  คือ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
การศึกษา  คือ กระบวนการของสังคม
การศึกษา  คือ การจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน
การศึกษา  คือ การพัฒนาความสามารถ
การศึกษา  คือ การสนองความต้องการที่จำเป็น
การศึกษา  คือ เครื่องมือที่จะทำให้เกิดการเจริญงอกงาม
การศึกษา  คือ การที่ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรจะได้
การศึกษา  คือ การทำลายสัญชาตญาณอย่างสัตว์
การศึกษา  คือ ชีวิต
การศึกษา  คือ ความเจริญงอกงาม

        ส่วนข้าพเจ้า  ขอให้นิยามของคำว่า  “การศึกษา”  ว่า
                                “การศึกษา คือ การสร้างพฤติกรรมบนภาพลวงแห่งความจริง
                                                          
                                                                   บทสรุป

         ข้าพเจ้ามีความเชื่อมั่นว่า  ระบบการบริหารการศึกษาของสังคมไทยในยุคปัจจุบัน  เป็นระบบที่เหลวแหลกที่สุดในเส้นทางการก้าวย่างของวงการการบริหารการศึกษาของไทยทั้งนี้  เหตุผลดังกล่าว เกิดขึ้นบนความเชื่อที่ว่า ผู้บริหารการศึกษายังยึดมั่นถือมั่นในตนเองมากกว่าการที่จะกล้า  กล้าที่จะให้ผู้ปฏิบัติได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่  มิใช่กล้าแบบลวง ๆโรงเรียนเป็นนิติบุคคลแล้ว   การตัดสินใจของผู้บริหารจึงเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นร่วมกันของผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงาน
          การตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา  ควรเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความคิดของผู้ปฏิบัติอย่างเป็นเอกภาพ
          การตัดสินใจร่วมกันระหว่างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กับหน่วยงานทางการศึกษา ควรเป็นการตัดสินใจในระดับระนาบความพะวงหรือความเป็นห่วงในฐานะแห่งตนนั้นน่าจะกระจ่างได้ โดยองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  จะเป็นผู้บริหารจัดการในส่วนของงบประมาณ  การติดต่อประสานงานต่าง ๆในขณะเดียวกัน  การจัดการศึกษา
จะเป็นหน้าที่โดยหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งก็จะมีผู้บริหารการศึกษาที่เป็นบุคลากรทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะเป็นผู้บริหารงานด้านการศึกษาอย่างเป็นเอกภาพ  ไม่ถูกครอบงำโดยผู้บริหารขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น  ภายใต้ความเชื่อที่ว่า
            
ไม่ควรนำการเมืองมาเปื้อนปนการศึกษา แต่การเมืองต้องสนับสนุนการจัดการศึกษาอย่างเต็มที่       ข้อเสนอแนะดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผู้เขียนที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงความต้องการของระดับผู้ปฏิบัติ  แต่ในขณะเดียวกัน  การวางแผนร่วมกันระหว่างองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กับหน่วยงานทางการศึกษา จะต้องรวมกันทำ ร่วมกันวางแผนในสิ่งที่เป็นแผนกลยุทธ์ร่วมกัน  ผู้เขียนมีความเชื่อว่า กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  (School-Based Management Process) น่าจะนำมาใช้ในการวางแผนร่วมกันได้ดี  คือ

 
1.วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
         องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับสถานศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน เพื่อหาแนวทางในการทำงานร่วมกัน

 
2.กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน ตัวบ่งชี้          การกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน และตัวบ่งชี้ร่วมกับระหว่างองค์กร ทำให้เห็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการร่วมกัน

 
3.กำหนดกลยุทธ์ วางแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการ
          การกำหนดกลยุทธ์ วางแผนพัฒนา และแผนปฏิบัติร่วมกัน สามารถทำให้ความไม่กระจ่างในสิ่งที่จะทำเป็นรูปธรรม มองเห็นในงานที่จะต้องทำร่วมกัน

 
4.ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
         การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ควรให้เอกภาพในการดำเนินงานโดยหน่วยงานทางการศึกษาเป็นการเฉพาะ

 
5.ประเมินตนเอง ประเมินภายใน
        การประเมินตนเอง ประเมินภายใน สามารถดำเนินร่วมกันได้

 
6.รายงานประจำปี รายงานการประเมินตนเอง

          หน่วยงานทางการศึกษา ต้องรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี หรือรายงานการประเมินตนเองให้กับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทราบ ทราบในความก้าวหน้าของการจัดการศึกษา  เพื่อใช้ในการวางแผนต่อไปเมื่อองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นให้โอกาสหน่วยงานทางการศึกษา บริหารการศึกษาได้อย่างเต็มที่  มีเอกภาพในการบริหารจัดการแล้ว  กลัวทำไมที่จะโอนมาสู่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น

 ข้าพเจ้าขอเสนอบทกลอน เพื่อการเสริมสร้างอุดมการณ์ร่วมกับระหว่างองค์กร ดังนี้
  การจัดการศึกษา                
 คือหน้าตาของท้องถิ่น
 ร่วมพัฒนาเพื่อแผ่นดิน      
 ผลลัพธ์ทั้งสิ้นเพื่อเด็กไทย
จงร่วมกันเพื่อสรรค์สร้าง         
งานทุกอย่างต้องโปร่งใส

ทุกองค์การร่วมขับเคลื่อนไป   
การศึกษาไทยย่อมพัฒนา
                                                           
                                                                     www.lpnrights.org
แหล่งอ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบ
 กิติมา  ปรีดีลิดก. ปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพ ฯ :  ประเสริฐการพิมพ์, 2520
 จิตรกร  ตั้งเกษมสุข. พุทธปรัชญากับปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพ ฯ : เคล็ดไทย, 2525
 ชาลี  มณีศรี. ปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษา. ชลบุรี : อัดสำเนา, 2519
 บรรจง  จันทรสา. ปรัชญากับการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2522
 พระราชวรมุณี. ปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพ ฯ : มูลนิธิโกมล  คีมทอง, 2525
 ไพฑูรย์  สินลารัตน์. ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาการศึกษาไทย. กรุงเทพ ฯ :
                          ไทยวัฒนาพานิช, 2523
 รัตนา  ตันบุนเต็ก. ปรัชญาคืออะไร. กรุงเทพ ฯ : อัมรินทร์การพิมพ์, 2523
 ระวี  ภาวิไล. ศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพ ฯ : เคล็ดไทย, 2520
 วารินทร์  สินสูงสุด. การศึกษากับปรัชญา. กรุงเทพ ฯ : มุมหนังสือวันทิพย์, 2520
 วรวิทย์  วศินสรากร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพ : พัฒนาศึกษา, 2544
 วิทย์  วิศท์เวทย์. ปรัชญา. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2518
 ศักดิ์ชัย  นิรัญทวี. ปรัชญาเอ็กซิสตองเชียลลิสม์. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์วลี, 2526
 ส.ศิวรักษ์. ปรัชญาการศึกษา.  กรุงเทพ ฯ: เคล็ดไทย,  2516
 อมร  โสภณวิเชษฐวงศ์. ปรัชญาเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ :ทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2514
www.hu.swu.ac.th/ph/applied_education.htm
www.hrd.ru.ac.th/TotalSubject/EF603_1.html
www.sobkroo.com/sobkroo_14.html
www.ka.mahidol.ac.th/muka_history/html/muka_2.html
www.mcu.ac.th/site/thesisdetails.php?thesis=253904
www.cpu.ac.th/phylo.html
www.pramanda.ac.th/school/data13.html
www.santivit.th.edu/phychology.htm
www.khaisrip.th.edu/lotto.htm
www.pwdmedia.com
www.onec.go.th
www.aksorn.com
www.lpnrights.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น